ยินดีต้อนรับ

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 พ.ย. 2555

คาบเรียนที่ 1  วันที่ 7 พ.ย. 2555

          วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอน บรยากาศของของเรียนดูอบอุ่นเป็นกันเองและยังได้เจอเพื่อน ๆ อีกด้วย เพราะเราได้ปิดการเรียนการสอนมาเป็นเวลาประมาณ 10 วันได้ วันนี้ก็เริ่มเข้าสู่บทเรียนดังต่อไปนี้

การแต่งกาย

          การแต่งกายที่ถูกต้องของนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ดังนี้
    - เสื้อนักศึกษาที่ไม่รัดรูป ไม่มีตีเก็ด และควรสวมเสื้อซับใน
    - กระโพรง สำหรับารศึกษาปฐมวัยทามหาลัยอนุญาตให้นักศึกษาใส่กระโพรงพีชได้เพื่อสะดวกในการเรียนการสอน
    - รองเท้าควรเป็นรองเท้าคัดชูสีดำเท่านั้น

การสั่งงาน

          การสั่งงานต่าง ๆ จะมีการคอมเม้นต์ตอนงานเสร็จ เพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานออกมาตามความเหมาะสมและตามความสามารถของตัวนักศึกษาเอง เมื่อตรวจงานหากงานผิดก็ต้องมีการแก้งาน หากงานผ่านก็ถือว่างานชิ้นนั้นเสร็จสิ้นสมบรูณ์
          รูปแบบของงานอยู่ในแนวให้หัวข้อและใหนักศึกษาออกแบบประยุกต์ด้วยตนเอง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ที่เรามีให้เกิดประโยชน์

เข้าสู่เนื้อหา

          อาจารย์ให้นักศึกษาฟังคำถามและให้ตอบคำถามลงกระดาษดังต่อไปนี้
1. ในความคิดของตัวนักศึกษาคิดว่าการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึงอะไร
     ตอบ จากความคิดของตัวดิฉัน หมายถึง การจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้จำนวนนับด้วยการใช้วัสดุที่เป็นรูปธรรมเป็นสื่อในการนับ
     - อาจารย์ไดถามต่อไปว่า ทำไมคำว่า สอนกับการจัดประสบการณ์แตกต่างกันอย่างไร
          นางสาวปัทมา ห้องแซงได้ให้คำตอบว่า
การสอน หมายถึง ครูสอนหรือบอกให้นักศึกษาทราบ
การจัดประสบการณ์ หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กได้มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
          การให้ความหมายของอาจารย์
การสอน หมายถึง การสอนที่เป็นระบบเป็นขั้นตอนของการสอน
การจัดประสบการ หมายถึง การที่ไม่คาดหวังว่าตัวเด็กนั้นจะสามารถทำได้ตามที่หวังหมดทุกอย่างแต่มันขึ้นอยู่กับความถนัดความพร้อมของพัฒนาการซึ่งขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันอัดด้วยมาตารฐานเดียวกันไม่ได้
2. การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักศึกษาคาดหวังว่าได้อะไรจากวิชานี้
      ตอบ ได้เทคนิคในการสอนนับจำนวน การใช้สื่อแทนตัวเลข การเยนรู้ว่าพัฒนาการวัยใดที่ควรสอนให้เรียนรู้จำนวนนับที่เหมาะสม เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ได้ถูกต้องตามพัฒนาการของเด็ก

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

1. กิจกรรมเคลื่อนไหว
2. กิจกรรมเสรี
3. กิจกรรมศิลปะสร้งสรรค์
4. กิจกรรมเกมส์การศึกษา
5. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
6. กิจกรรมกลางแจ้ง
         

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

เพิ่มเติมบทเรียน


เพิ่มเติมบทเรียน  วันที่ 28  กันยายน 2555

การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย




เขียนโดย นฤมล เนียมหอม

หน้า 2 จาก 3

2. สาระที่ควรเรียนรู้ โดยปกติเป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์สำคัญ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก อย่างไรก็ตามครูควรทำความเข้าใจสาระที่ควรเรียนรู้ตามลักษณะการใช้ภาษาที่แฝงอยู่ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

2.1 การฟัง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เสียงที่ได้ยิน การตระหนักถึงความหมายของเสียงนั้นในบริบทแวดล้อม และการตีความสิ่งที่ได้ยินโดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิม การรวบรวมข้อมูล การจินตนาการ หรือความชื่นชอบของเด็ก ทั้งนี้ สาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับการฟังแบ่งออกเป็น 3 ด้าน (Jalongo, 1992: 67) ได้แก่

(1) ด้านความสามารถในการได้ยินและจับใจความ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และภูมิหลังของเด็ก ครูจึงต้องปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นนั้นๆ

(2) ด้านความตั้งใจฟัง เกิดขึ้นเมื่อมีแรงจูงใจ มีเหตุผลที่ดี หรือมีประโยชน์ต่อเด็ก

(3) ด้านนิสัยในการฟัง เป็นพฤติกรรมตอบสนองต่อสถานการณ์ในการฟัง นิสัยที่ดีในการฟังเกิดจากการที่เด็กมีความสนใจ ได้รับข้อมูลหรือสารที่ชัดเจน และการได้ตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน


ดังนั้น สิ่งที่ครูควรตระหนักและวางแผนในการกำหนดสาระที่เด็กควรเรียนรู้ด้านการฟัง คือ การช่วยให้เด็กมีความไวต่อการใช้บริบท หรือสิ่งชี้แนะเพื่อการตีความ และการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้ยินกับประสบการณ์ของเด็ก โดยที่ครูเป็นผู้ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ต่างๆ อย่างเพียงพอ เหมาะสมกับวัย ความแตกต่างระหว่างบุคคล และความสนใจของเด็ก เพื่อเป็นแรงจูงใจที่ช่วยให้เด็กมีความตั้งใจในการฟัง และพัฒนาไปสู่การมีนิสัยที่ดีในการฟังในที่สุด

2.2 การพูด เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับผู้อื่น สาระที่เด็กควรเรียนรู้เพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นอย่างมีความหมาย และตรงตามความต้องการของเด็ก ได้แก่

(1) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก หรือคำศัพท์เกี่ยวกับเรื่องราวที่เด็กสนใจ

(2) การเรียงลำดับคำต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

(3) การใช้คำพูดที่เป็นที่ยอมรับ และ/หรือคำพูดที่สุภาพ

(4) การใช้คำพูดให้เหมาะสมกับบุคคลที่ต้องการสื่อสารด้วย

(5) ความมั่นใจในการพูดกับผู้อื่น

(6) การยอมรับความคิดที่ผู้อื่นแสดงออกด้วยการพูด

(7) ความสนใจที่มีต่อคำใหม่ๆ สาระเหล่านี้ช่วยให้เด็กสามารถมากขึ้น

2.3 การอ่าน เป็นกระบวนการที่เด็กใช้ในการถอดรหัสสัญลักษณ์ และทำความเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดผ่านสัญลักษณ์เหล่านั้น องค์ประกอบของการอ่านที่เด็กควรเรียนรู้ (สุภัทรา คงเรือง, 2539: 19 - 20) ได้แก่

(1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ ได้แก่ การรู้ทิศทางในการถือหนังสือ การรู้ส่วนประกอบของหนังสือ และ การรู้ทิศทางในการอ่าน

(2) ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร ได้แก่ การรู้ว่าการอ่านกับการเขียนสัมพันธ์กัน การรู้จักคำคุ้นตา การรู้ว่าคำคืออะไร การรู้จักตัวอักษรตัวแรก และตัวสุดท้ายของคำ และ การรู้รูปร่างและทิศทางของตัวอักษร

(3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน ได้แก่ การรู้ความหมายของเครื่องหมายคำพูด เครื่องหมายคำถาม และเครื่องหมายอัศเจรีย์

(4) ความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน ได้แก่ การคาดคะเน และตรวจสอบการคาดคะเนโดยอาศัยภาพ ความหมายของคำ โครงสร้างของประโยค และ/หรือ พยัญชนะต้นของคำ

2.4 การเขียน เป็นกระบวนการแสดงออกถึงความรู้สึก ความต้องการ และความคิดผ่านทางเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ องค์ประกอบของการเขียนที่เด็กควรเรียนรู้ (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538: 9) ได้แก่

(1) การสร้างสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การสร้างภาพ และ/หรือข้อความ ด้วยการวาด การลอก การจำมาเขียนทั้งที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์และถูกต้องสมบูรณ์ การคิดพยัญชนะขึ้นเสียงของคำ ตลอดจนการคิดสะกดคำ

(2) ทิศทางการเขียน หมายถึง การจัดเรียงตำแหน่งของสิ่งที่เขียน ตั้งแต่การจัดเรียงตามแนวตั้งและแนวนอนอย่างสะเปะสะปะ ไปจนกระทั่งเด็กสามารถเขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่างอย่างสม่ำเสมอ

(3) วิธีถ่ายทอดความหมายของสัญลักษณ์ภาษาเขียน หมายถึง การแสดงความหมายของภาพ และ/หรือข้อความที่ตนเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการบอกให้ครูช่วยเขียนให้ เขียนเองบางส่วน ตลอดจนเขียนเองทั้งหมด

(4) ความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน ได้แก่ การคาดคะเน และตรวจสอบการคาดคะเนโดยอาศัยภาพ ความหมายของคำ โครงสร้างของประโยค และ/หรือ พยัญชนะต้นของคำ


ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ เด็กที่ได้อยู่ในห้องเรียนที่มีวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีคุณภาพมีแนวโน้มที่จะรักการอ่าน และการอ่านวรรณกรรมที่ดีจะกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในอนาคตของเด็ก อีกทั้งยังเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เด็กมีความต้องการอ่านบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์ที่ควรมีในห้องเรียนได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีความหลากหลายในด้านของผู้แต่ง และผู้วาดภาพประกอบ มีระดับความยากแตกต่างกัน มีวัสดุที่ใช้สำหรับการอ้างอิง ประกอบด้วยพจนานุกรม แผนที่ บัญชีคำศัพท์ และสารานุกรม นิตยสารสำหรับเด็ก นอกจากนี้ครูควรจัดให้มีสื่อสำหรับการเขียนทั้งกระดาษที่ไม่มีเส้น และมีเส้นหลายสี หลายแบบ หลายขนาด กระดาษบันทึกเล็กๆ ซองจดหมาย ดินสอ ปากกา สีชนิดต่างๆ เครื่องเหลาดินสอ ตรายางและแท่นประทับ นอกจากนี้ยังอาจจัดสื่อสำหรับการเย็บกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเย็บกระดาษ ที่เจาะกระดาษ เชือก กาว เทปใส กระดาษกาว คลิปหนีบกระดาษ กรรไกร เป็นต้น โดยควรจัดวางให้เด็กสามารถเลือกหยิบใช้และนำมาเก็บคืนได้ด้วยตนเองด้วย

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (DAP) ไม่ควรเป็นการสอนทักษะทางภาษาอย่างเป็นทางการ แต่ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทายให้เด็กเกิดความต้องการที่จะร่วมกิจกรรม และสามารถประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง หรือมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการทางภาษาของเด็ก และช่วยให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในขั้นต่อไป ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างกันของเด็ก ตัวอย่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้

1. การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ (Morning Message)

เป็นกิจกรรมที่เด็กและครูได้สนทนาร่วมกันในช่วงเริ่มต้นกิจกรรมของแต่ละวัน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และได้เปลี่ยนกันเป็นผู้พูดและผู้ฟัง ครูควรส่งเสริมให้เด็กมีมารยาทที่ดีในการพูดและการฟัง หากเด็กคนใดไม่ต้องการพูดก็ไม่ควรถูกบังคับให้พูด เพื่อให้เด็กที่ไม่มั่นใจในตนเองรู้สึกสบายใจที่จะมีส่วนร่วมในการฟังการสนทนา

หัวข้อที่ใช้สนทนาอาจเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และเหตุการณ์พิเศษของแต่ละวัน เช่น วันนี้เราจะทำอะไรกันบ้าง จะมีใครมาที่ห้องเราบ้าง ฯลฯ เป็นข่าวสารจากเด็ก ซึ่งเด็กอาจเล่าเรื่องส่วนตัวของตนเอง หรือเล่าเกี่ยวกับสิ่งของที่ตนนำมา (Show & Tell) เด็กที่ได้เล่าเรื่องจะรู้สึกเสมือนว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนกำลังพูดอยู่ นับว่าเป็นการช่วยขยายประสบการณ์ให้แก่เด็กคนอื่นๆ ด้วย และเมื่อเด็กๆรู้ว่าแต่ละวันเขาสามารถเล่าเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนได้ เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมเรื่องที่จะพูดไว้ล่วงหน้า หรือเป็นหัวข้อที่เด็กสนใจ ซึ่งเด็กๆจะพยายามหาข้อมูลมาให้มากที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ เด็กๆ อาจหาข้อมูลด้วยการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ สังเกตหรือทดลองด้วยตนเอง ฯลฯ

การสนทนาเป็นวิธีการสำคัญและเป็นวิธีการหลักที่ครูจำเป็นต้องใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย เพราะในขณะที่เด็กสนทนากับครู เด็กจะได้ยินแบบอย่างของการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เมื่อเด็กสนทนากันเอง เด็กจะมีโอกาสฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้ยินคำศัพท์ใหม่ๆ ได้ทำความเข้าใจการพูดของเพื่อนจากสิ่งชี้แนะ (McGee and Richgels, 2000: 160) การที่เด็กได้เล่าเรื่องให้เพื่อนฟังทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น เด็กได้ใช้ภาษาบ่อยขึ้น เด็กจะรู้จักใช้คำถามถามเพื่อน รู้จักการหาข้อมูลไว้ตอบคำถาม เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยังช่วยพัฒนาการยอมรับในสิ่งที่ผู้อื่นพูดอีกด้วย ระหว่างการสนทนา ครูควรมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในการสนทนา ถ้ามีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่คนอื่นอยู่ด้วยก็ควรให้บุคคลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา ไม่ควรมีบรรยากาศของการตัดสินว่าสิ่งที่เด็กพูดถูกหรือผิดเพื่อส่งเสริมให้เด็กต้องการมีส่วนร่วมในการสนทนาและติดตามหัวข้อที่สนทนาอย่างสม่ำเสมอ

2. การอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง (Reading Aloud)

เป็นกิจกรรมที่ครูเลือกวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ดีมาอ่านให้เด็กฟัง ครูควรจัดให้มีช่วงเวลาเฉพาะสำหรับการอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง (Story Time) กิจกรรมนี้อาจจะจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อยหรือจัดสำหรับเด็กกลุ่มใหญ่ก็ได้ โดยครูเลือกหนังสือที่เด็กสนใจมาอ่านให้เด็กฟัง ครูควรอ่านชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ผู้วาดภาพประกอบ อ่านเนื้อเรื่องพร้อมกับชี้ข้อความขณะที่อ่าน เปิดโอกาสให้เด็กได้ถามคำถาม หรือสนทนาเกี่ยวกับตัวละคร หรือเรื่องราวในหนังสือ ครูอาจเชิญชวนให้เด็กคาดเดาเหตุการณ์ในเรื่องบ้าง และควรเตรียมข้อมูลที่ช่วยให้เด็กเข้าใจคำยากที่ปรากฎในเรื่อง ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ และจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากเรื่องที่อ่านให้เด็กเลือกทำตามความสนใจ เช่น เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ปรากฎในเรื่องในเด็กได้เล่นสมมุติ เตรียมภาพให้เด็กได้เรียงลำดับเรื่องราว เป็นต้น

ช่วงเวลาที่ครูอ่านหนังสือให้เด็กฟังนี้ควรเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น และมีความสุข ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็ก ครูควรอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเพื่อช่วยให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน และช่วยให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ การใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน

3. การให้เด็กเล่าเรื่องซ้ำ (Story Retelling)

เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจับใจความ เด็กปฐมวัยเรียนรู้การจับใจความด้วยการฟังนิทาน เพราะนิทานมีโครงสร้าง ลีลาในการเขียน และเรื่องราวที่เด็กคุ้นเคย เอื้อให้เด็กสามารถใช้ความรู้เดิมในการจับใจความจากเรื่องที่ฟังและดูภาพประกอบ เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูต้องถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดจับใจความสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นแบบอย่างของการคาดคะเน แปลความ ตีความ และตรวจสอบความเข้าใจ แล้วเก็บประเด็นสำคัญในการจับใจความ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้เด็กเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง โดยการเล่าเรื่องอาจเป็นกิจกรรมระหว่างครูกับเด็ก หรือเป็นกิจกรรมระหว่างเด็กกับเด็กด้วยกัน เพื่อให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียนและฝึกปฏิบัติในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว

เทคนิคในการสอนเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำ ได้แก่ ก่อนเล่านิทานครูถามคำถามให้เด็กคาดคะเน และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม ขณะเล่านิทาน ครูถามคำถามให้เด็กตีความ ให้คาดคะเน ให้แปลความ และตรวจสอบความเข้าใจ หลังเล่านิทานจบควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทบทวนเรื่องราวที่ได้ฟัง เช่น การทำแผนผังนิทาน หนังสือนิทาน บอร์ดนิทาน กล่องนิทาน ฉากนิทาน แผ่นพับนิทาน ภาพแขวนต่อเนื่อง การเชิดหุ่น ภาพตัดต่อนิทาน บทบาทสมมติ และกะบะนิทาน ทั้งนี้ ครูควรเสริมแรงอย่างเหมาะสมขณะเด็กเล่าเรื่องซ้ำให้ผู้อื่นฟังด้วย (อลิสา เพ็ชรรัตน์, 2539)

4. การอ่านร่วมกัน (Shared Reading)

เป็นกิจกรรมที่มีเครื่องมือหลัก หรือสื่อพื้นฐานคือหนังสือเล่มใหญ่ ซึ่งขนาดของตัวหนังสือใหญ่พอที่เด็กที่นั่งอยู่ข้างหลังมองเห็นคำหรือตัวหนังสือในแต่ละหน้า หนังสือเล่มใหญ่ที่เลือกมาใช้ควรเป็นวรรณกรรมเด็กที่เป็นที่คุ้นเคย และเป็นประเภททายได้

ขั้นตอนของการอ่านร่วมกันเริ่มตั้งแต่การอภิปรายถึงเนื้อเรื่องของหนังสือที่จะอ่าน หรือนำสิ่งของที่สัมพันธ์กับเรื่องมานำเสนอ เพื่อช่วยให้เด็กเริ่มสนใจหนังสือที่จะอ่านและช่วยให้เด็กมีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะอ่านด้วย อ่านหนังสือให้เด็กฟังทั้งเรื่องเพื่อให้เด็กสนใจ ชี้คำขณะที่อ่านเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ หรือข้อความเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการอ่าน ให้เด็กสนุกกับส่วนที่ทายล่วงหน้าได้

เมื่ออ่านร่วมกับเด็กหลายครั้งแล้วครูควรจัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ส่วนย่อยของข้อความที่เป็นประโยค วลี หรือคำ โดยการทำหน้ากากปิดตัวหนังสือเพื่อให้เด็กเห็นคำหรือวลีที่ต้องการเน้นให้ชัดขึ้นและให้เด็กที่เป็นอาสาสมัครอ่าน นอกจากทำหน้ากากแล้วครูอาจใช้กิจกรรมการเติมคำที่เจาะจงที่หายไป (Cloze) กิจกรรมนี้จะชวยให้เด็กเข้าใจได้ว่าข้อความหรือคำไม่ใช่รูปภาพ และเรียนรู้ว่าตัวหนังสือจะมีทิศทาง ซึ่งการเติมคำที่หายไปนี้อาจเป็นประเภททางเสียงและประเภททางตา หรือครูอาจใช้กิจกรรมการเน้นที่คำสำคัญด้วยการทำบัตรคำสำคัญไว้ให้เด็กนำไปเทียบกับคำในหนังสือตามความสนใจ หรืออาจทำบัตรภาพจากในหนังสือให้เด็กจับคู่ภาพกับเนื้อความในหนังสือก็ได้ (จูดิธ พอลลาด สลอทเธอร์, 2543)

หลังจากที่ได้อ่านร่วมกันแล้ว ครูควรจัดกิจกรรมการสื่อภาษาและกิจกรรมการเล่นเกมภาษา เพื่อให้เด็กได้สื่อความหมายสิ่งที่ได้อ่าน กิจกรรมการสื่อภาษา ได้แก่ การทำหนังสือนิทาน การแสดงละคร การเล่าเรื่องซ้ำ การทำงานศิลปะ การทำภาพผนัง ฯลฯ โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่เป็นสื่อ ส่วนกิจกรรมการเล่นเกมภาษา ได้แก่ เกมหาคำที่เหมือนกันในนิทาน เกมหาชื่อตัวละคร เกมพูดตามเครื่องหมายวรรคตอน เกมลำดับภาพและข้อความจากเรื่อง เป็นต้น (สุภัทรา คงเรือง, 2539)

5. การสอนอ่านแบบชี้แนะ (Guided Reading)

เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้พื้นฐาน ในด้านการอ่านอย่างเหมาะสมกับระดับความสามารถของเด็ก เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับเด็กเป็นรายบุคคลหรือทำงานกับเด็กเป็นกลุ่มย่อย 4 - 8 คน (Stewig and Simpson, 1995)

ครูควรเลือกหนังสือที่มีระดับความยากเหมาะสมกับกลุ่มเด็ก โดยพิจารณาจากความซับซ้อนของเรื่องและภาษาที่ใช้ในนิทาน ลักษณะของประโยคที่เล่าเรื่อง และภาพประกอบ ที่ช่วยให้เด็กคาดเดาเรื่องและคำได้มาใช้ในการอ่านร่วมกับเด็ก กิจกรรมนี้มีเงื่อนไขสำคัญที่กลุ่มเด็กและครูต้องมีหนังสือที่ครูเลือกไว้ทุกคน เมื่อครูประเมินว่าเด็กต้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้พื้นฐานเรื่องใด ครูจะตั้งวัตถุประสงค์ในเรื่องนั้น เพื่อนำมาสอดแทรกในการอ่านร่วมกับกลุ่มเด็ก

ความรู้พื้นฐานในการอ่านของเด็ก เช่น ส่วนประกอบของหนังสือ การใช้หนังสือ การคาดเดาเรื่องราวจากภาพหรือโครงสร้างของประโยค การเชื่อมโยงเรื่องราวกับประสบการณ์เดิมของเด็ก การรู้จักคำใหม่ การเล่นกับเสียงของตัวอักษรหรือพยัญชนะต้นของคำ การคาดเดาคำใหม่จากภาพ และตัวอักษร ฯลฯ (Neuman and Bredekamp, 2000) ทั้งนี้ครูต้องกำหนดช่วงเวลาเฉพาะในการสอนอ่านแบบชี้แนะ ซึ่งในแต่ละสัปดาห์เด็กควรมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง สิ่งสำคัญในการสอนอ่านแบบชี้แนะคือ การที่ครูสอนทักษะย่อย ๆ นี้จะต้องไม่ทำมากเกินไปจนเสียอรรถรสของเรื่องที่อ่านด้วยกัน

6. การอ่านอิสระ (Independent Reading)

เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเลือกอ่านตามความสนใจ สื่อที่ใช้ในการอ่านอาจเป็นหนังสือประเภทต่างๆ คำคล้องจอง เนื้อเพลง หรือสื่อต่างๆ เช่น ป้ายข้อตกลงต่างๆ ในห้องเรียน ป้ายประกาศเตือนความจำ คำแนะนำในการใช้และเก็บของเล่น คำขวัญ คำคล้องจองประจำมุม ป้ายสำรวจชื่อเด็กที่มาโรงเรียน ป้ายแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ป้ายอวยพรวันเกิด รายการอาหารและของว่างประจำวัน ปฏิทิน รายงานอากาศประจำวัน และป้ายอวยพรวันเกิดเพื่อน เป็นต้น

ครูควรจัดให้เด็กมีเวลาเลือกอ่านอย่างอิสระตามความสนใจ และอาจจัดทำบันทึกการอ่านของเด็ก โดยการให้เด็กเล่าหรือพูดคุยเรื่องที่อ่านให้ครูหรือเพื่อนฟัง ครูช่วยบันทึกสิ่งที่เด็กอ่าน หรืออาจให้เด็กจดชื่อหนังสือที่ตนอ่านลงในสมุดบันทึก

7. การอ่านตามลำพัง (Sustained Silent Reading - SSR)

วิธีการส่งเสริมการอ่านที่ดี คือการให้เด็กมีโอกาสในการอ่านจริงๆ ครูควรจัดให้มีช่วงเวลาเฉพาะที่เด็กทุกคนรวมทั้งครูเลือกหนังสือมาอ่านตามลำพัง ช่วงเวลานี้เด็กจะได้เลือกหนังสือที่ตนชื่นชอบหรือสนใจมาอ่าน แม้ว่าชื่อของกิจกรรมจะเป็นการอ่านเงียบๆ โดยไม่รบกวนผู้อื่น แต่ในทางปฏิบัติเด็กอาจพูดออกเสียงพึมพำระหว่างการอ่านบ้าง ครูไม่ควรบังคับให้ทุกคนเงียบสนิทระหว่างการอ่าน กิจกรรมนี้อาจใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีต่อวัน ควรเป็นเวลาที่เด็กมีอิสระในการเลือกอ่านโดยครูไม่ต้องมอบหมายงานต่อเนื่องจากการอ่านให้เด็กทำ (Stewig and Simpson, 1995: 216)

8. การเขียนร่วมกัน (Shared Writing)

เป็นกิจกรรมที่ครูเขียนร่วมกับเด็กโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้กระบวนการเขียนตั้งแต่การการตัดสินใจแสดงความคิดที่ประมวลไว้ออกมาเป็นภาษาเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการสร้างตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ สื่อความหมายที่ครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อ โดยจัดเรียงตำแหน่งสิ่งที่เขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง การเขียนร่วมกันทำให้เด็กรู้ว่าความคิดสามารถบันทึกไว้ด้วยข้อความได้ และทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเขียน

ในการเขียนร่วมกัน ครูอาจเริ่มต้นด้วยการเชิญชวนให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เด็กริเริ่มและสัมพันธ์กับประสบการณ์จริงของเด็ก ครูแสดงแบบอย่างของการตัดสินใจถ่ายทอดความคิดเป็นข้อความหรือสัญลักษณ์โดยการกระตุ้นให้เด็กช่วยกันบอกสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย แล้วให้เด็กช่วยกันสรุปข้อความที่เด็กช่วยกันบอกให้กระทัดรัด เหมาะที่จะเขียน เพื่อให้เด็กจำข้อความนั้นได้ก่อนลงมือเขียน ให้ครูเป็นคนเขียนข้อความเอง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการวิจารณ์เด็กที่เขียนผิดต่อหน้าเพื่อนและครู จนเด็กที่เขียนเสียกำลังใจ และไม่กล้าเขียนอีก ระหว่างที่เขียนควรหมั่นถามให้เด็กติดตามบอกให้ครูเขียน ควรเขียนให้เด็กเห็นลีลามือที่ถูกต้อง เขียนตัวหนังสือขนาดใหญ่พอที่เด็กจะเห็นทิศทางการเขียนที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ลายมือที่ครูเขียนมีส่วนสำคัญในการเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก ครูจึงควรระวังเรื่องลายมือและลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงอ่านทวนให้เด็กฟัง อาจให้เด็กอ่านทวนอีกครั้ง และให้เด็กวาดภาพประกอบ (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538)

ตัวอย่างกิจกรรมการเขียนร่วมกัน ได้แก่ กิจกรรมสำรวจเด็กมาโรงเรียน ซึ่งให้เด็กได้ลงชื่อมาโรงเรียนตามความสมัครใจ จากนั้นเมื่อถึงเวลาสำรวจรายชื่อเด็กและครูสามารถนำใบลงชื่อนี้มาใช้เขียนร่วมกันว่ามีเด็กมาโรงเรียนจำนวนเท่าไร หรือใครไม่มาโรงเรียนบ้าง กิจกรรมประกาศข่าว โดยการเปิดโอกาสให้เด็กหรือครูแจ้งข่าวสารที่ต้องการให้ทุกคนรับรู้ เมื่อครูเขียนตามที่เด็กบอกแล้วสามารถนำข้อความดังกล่าวมาติดประกาศ เป็นต้น

9. การเขียนอิสระ (Independent Writing)

เป็นกิจกรรมที่ที่เด็กริเริ่มเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายอย่างอิสระในช่วงเวลาของกิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุม เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจและความสมัครใจ เด็กเป็นผู้เลือกเนื้อหาในการทำกิจกรรม เช่น การเขียนถ่ายทอดความคิดที่ผลงานศิลปะและผลงานการต่อบล็อก การบันทึกชื่อนิทานที่อ่าน การเขียนเพื่อทำอุปกรณ์ประกอบการเล่นสมมุติ เช่น ใบสั่งยา เมนู ฯลฯ การบันทึกการสังเกตในมุมวิทยาศาสตร์

ครูอาจเตรียมกิจกรรมให้เด็กได้เขียนอย่างมีความหมายโดยสัมพันธ์กับหน่วยการเรียน โดยใช้เนื้อหาจากหน่วยการเรียนมาบูรณาการกับการเขียนอิสระตามมุมประสบการณ์ให้เด็กได้เลือกทำ เช่น การพิมพ์ภาพมือและเท้าที่มุมศิลปะในหน่วยตัวเรา การทำเมนูอาหารที่มุมร้านอาหารในหน่วยอาหารดีมีประโยชน์ เป็นต้น (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538)

เรียนชดเชยสัปดาห์ที่ 10


วันที่ 19 สิงหาคม 2555


กิจกรรมในวันอาทิตย์


- ให้นักศึกษาเลือเอาสิ่งของอะไรก็ได้ของตนเอง ที่ชอบที่สุดหนึ่งอย่าง แล้วให้บอกเหตุผล

- ให้นักศึกษาเลือเอาสิ่งของอะไรก็ได้ของตนเอง ที่ชอบที่สุดหนึ่งอย่าง แล้วให้โฆษณาของชิ้นนั้น

- ให้นักศึกษาวาดภาพตามใจชอบมาหนึ่งภาพ

- เมื่อวาดภาพเสร็จให้นักศึกษาออกมาแสดงความคิด การจินตนาการเหตุการณ์ต่าง ๆ

ดิฉันก็หยิบผ้าเช็ดหน้า เพราะผ้าเช็ดหน้าสามารถนำมากเช็ดมือ เช็ดสิ่งสกปรกได้ และมันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะดิฉันใช้ผ้าเช็ดหน้ามาตั้งแต่มัธยมต้น จนถึงปัจจุบันนี้


สิ่งที่ดิฉันนำมาโฆษณา คือ กระเป๋า เพราะกระเป๋ามีไว้ใส่ของได้มากมาย และที่โดดเด่นไปกว่านั้นคือ เป็นถุงผ้าที่ช่วยลดโลกร้อน










วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 กันยายน 2555

วันที่ 28 กันยายน 2555

           
   
     วันนี้อจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่นและให้นักศึกษาใช้การสังเกต การวิเคราะห์ การตีความ ในเทคโนโลยีการสื่อสารที่เรียกว่า แท็บเล็ต ว่ามีข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัดอย่างไร จงอธิบาย








แท็บเล็ท (Tablet)


ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ

"แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"


ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)


"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet


"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก


ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"


เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"


ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง


Post-PC operating systems


ในปัจจุบันมีความนิยมในการใช้งาน Tablet สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดการแข่งขันและการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ tablet ขึ้นมาเฉพาะโดยไม่ได้ตามเทคโนโลยีของ PC หรือ PDA เหมือนในอดีต ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมด้าน Hardware หรือ Software ต่างมีผู้ผลิต OS (Operating System) ของตนเองมาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าย Windows เองก็พยายามจะรักษาตลาดเดิมของ PocketPC เอาไว้ นอกจากนี้ Apple ผู้ผลิต iPad ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน Tablat อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ก็มี iOS ที่พัฒนาสำหรับ Tablat โดยเฉพาะและมีจุดแข็งในการผลิตฮาร์ดแวร์เองทำให้ OS สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้คู่แข่งสำคัญอย่าง Google ก็มี Android OS ที่มีจุดแข็งในการเปิดให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อื่นๆ สามารถนำ Android OS ไปใช้ได้กับฮาร์ดแวร์ของตน นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายราย ที่พยายามสร้าง OS ของตนขึ้นมาเพื่อใช้งานกับ Tablat ของตนเอง เช่น Blacberry Tablet OS ที่อิงระบบ QNX หรือ HP ที่พยายามสร้าง webOS เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด แต่ทำไม่สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม Tablat ยังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในอนาคต Tablat จะเป็นมากกว่ากระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะบรรจุเทคโนโลยีมากมาย อีกทั้งความสามารถด้านการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถของ Tablat เปิดกว้างมายิ่งขึ้น


บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 กันยายน 2555


วันที่ 21 กันยายน 2555

          วันนี้อาจารย์ตรวจความเรียนร้อยของ Blogger ของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้นำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น

กระบวนการในการทำงาน

1. ตั้งวัตถุประสงค์ก่อนเป็นอันดับแรก

2. ศึษาค้นคว้าข้อมูอจากแหล่งข่าวต่าง ๆ

3. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์

4. ปรับปรุงแก้ไขและตกแต่งให้สวยงสม

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 14 กันยายน 2555


วันที่ 14 กันยายน 2555

อาจาย์ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลงให้ออกมาร้องเพลงก่อน และต่อด้วยการเล่านิทานและอาจารย์จะให้อัดวีดีโอเก็บไว้เป็นผลงานของนักศึกษา


กลุ่มที่ 1. เพลงแปรงฟันกันเถอะ

กลุ่มที่ 2. เพลงเชิญมาเล่น

กล่มที่ 3. เพลงท้องฟ้าแสนงาม

กลุ่มที่ 4. เพลง เดิน เดิน เดิน

กลุ่มที่ 5. เพลงเด็กจอมพลัง

การเล่านิทานโดยใช้เทคนิค ดังนี้


กลุ่มที่ 1 เรื่องช้างมีนำใจ (เล่าไปฉีกไป

กลุ่มที่ 2 เรื่อง เจ้าแสนซน (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 3 เรื่อง กระต่ายน้อยเพื่อนเกลอ (เล่าโดยใชเชือก)

กลุ่มที่ 4 เรื่อง โจรใจร้าย (เล่าโดยใช้เชือก)

กลุ่มที่ 5 เรื่อง กบน้อยแสนซน (เล่าฉีกไป)

กลุ่มที่ 6 เรื่อง เจ้าแกะกับดวงอาทิตย์ (เล่าไปฉีกไป)

กลุ่มที่ 7 เรื่อง เจ้างูน้อยกับเภาวัลล์ (เล่าโดยใช้เชือก)

กลุ่มที่ 8 เรื่อง ต้นไม้ของเรา (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 9 เรื่อง วันหยุดของน้องเบส (เล่าโดยใช้เชือก)

กลุ่มที่ 10 เรือง ดาวเคราะห์ของคุณยาย (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 11 เรื่อง ครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 12 เรื่อง ตุ้งแช่จอมซน (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 13 เรื่อง น้องมดอยากไปเที่ยวทะเล (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 14 เรื่อง แพวิเศษ (เล่าไปพับไปป

กลุ่มที่ 15 เรื่อง ความสุขของคุณยาย (เล่าไปวาดไป)

กลุ่มที่ 16 เรื่อง ยักษ์ 2 ตน (เล่าไปพับไป)

กลุ่มที่ 17 เรื่อง พระจันทร์ไม่มีเพื่อน (เล่าไปตัดไป)

กลุ่มที่ 18 เรื่อง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง (เล่าไปวาดไป)

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 7 กันยายน 2555


วันที่ 7 กันยายน 2555














วันนี้อาจารย์แจกสีหนึ่งกล่องและแผ่นพยัญชนะไทย 44 ตัว อาจารย์ได้สรุปเรื่องของภาษาของเด็กเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย อาจารย์ยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ส่งเสริมด้านภาษาอาทิ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย รวมทั้งพูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาอาทิ รูปภาพ นิทาน บัตรคำ และเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การฟังเทป แผ่นเสียง ด้านกาพูดคือ ให้เด็ก ๆ เล่นหุ่นมือ ด้านการอ่าน นำหนังสือนิทานมาให้เด็กอ่านและด้านการเขียน คือเตรียมกระดาษแผ่นเล็กพร้อมดินสอเอาไว้ ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกเขียน